แม่บทย่อย ว่าด้วยนิมิต ทั้ง 3 ตามแบบมูลกรรมฐาน

เริ่มโดย kai, ต.ค 23, 2023, 07:31 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

kai

ถาม สมาธินิมิต ปัคคาหะนิมิต อุเบกขานิมิต คืออะไรค่ะ พอจ อธิบายหน่อย

ตอบ แม่บทย่อย ว่าด้วยนิมิต ทั้ง 3 ตามแบบมูลกรรมฐาน
========================================
เอกคฺคตา หิ อิธ สมาธินิมิตฺตนฺติ วุตฺตา. ตตฺถ วจนตฺโถ:-
สมาธิเยว นิมิตฺตํ สมาธินิมิตฺตํ. เสสปททฺวเยปิ เอเสว นโย.
ปคฺคโหติ ปทํ  วิริยสฺส นามํ, อุเปกฺขาติ มชฺฌตฺตภาวสฺส.  ตสฺมา วิริยสฺส ยุตฺตกาเล วิริยํ มนสิกาตพฺพํ,
มชฺฌตฺตภาวสฺส  ยุตฺตกาเล มชฺฌตฺตภาเว ฐาตพฺพนฺติ. ฐานนฺตํ จิตฺตํ โกสชฺชาย สํวตฺเตยฺยาติ ตํ การณํ วิชฺชติ เยนตํ จิตฺตํ โกสชฺชภาเว ติฏฺเฐยฺย.
อิตเรสุปิ เอเสว นโย. อุเปกฺขานิมิตฺตํเยวมนสิกเรยฺยาติ เอตฺถ จ ญาณชวํ อุเปกฺเขยฺยาติ อยมตฺโถ. อาสวานํ ขยายาติ อรหตฺตผลตฺถาย.
---------------------------------------------------------
เพราะว่า ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเอกัคคตาว่าเป็นสมาธินิมิต.
               ในบทว่า สมาธินิมิตฺตํ นั้นมีความหมายของคำดังนี้ นิมิตคือสมาธิ ชื่อว่าสมาธินิมิต.
               แม้ในสองบทที่เหลือก็มีนัยนี้แล.
               บทว่า ปคฺคาโห (การประคองจิต) เป็นชื่อของวิริยะ.
               บทว่า อุเปกฺขา เป็นชื่อของมัชฌัตตภาวะ (ความที่จิตเป็นกลาง). เพราะฉะนั้น ภิกษุพึงมนสิการถึงวิริยะในเวลาที่เหมาะสมแก่วิริยะ. พึงดำรงอยู่ในมัชฌัตตภาวะในเวลาที่หมาะสมแก่มัชฌัตตภาวะแล.
               บทว่า ฐานนฺตํ จิตฺตํ โกสชฺชาย สํวตฺเตยฺย ความว่า เหตุที่ทำให้จิตนั้นดำรงอยู่ในภาวะ คือความเกียจคร้านมีอยู่.
               แม้ในเหตุนอกนี้ก็มีนัยนี้แล.
               และในบทว่า อุเปกฺขานิมิตฺตํเยว มนสิกเรยฺย มีเนื้อความดังนี้ว่า ภิกษุพึงเพ่งดูความว่องไวแห่งญาณเฉยๆ.
               บทว่า อาสวานํ ขยาย ได้แก่ เพื่อประโยชน์แก่อรหัตผล.
===========================
ไม่อธิบายผิดก็ต้อง ยึดตามคำอธิบายตามอรรถกถา
สมาธินิมิต หมายถึง นิมิตที่จิตเป็นเอกัคคตา ( ฌาน 4 )
ปัคคานิมิต หมายถึง นิมิตที่จิตอาศัยเป็นเครื่องทำให้เกิดสมาธิ
อุเบกขานิมิต หมายถึง นิมิตที่จิตวางเฉยต่อสภาวะ นิ่งไม่กระทำการใด ๆ
ถ้าอยู่ในเอกัคคตา นาน ๆ ก็จะทำให้เกิดความขี้เกียจ
ถ้าอยู่ในปัคคาหะ นาน ๆ ก็จะทำให้ฟุ้งซ่าน
ถ้าอยู่ในอุบกขามาก ๆ ก็จะทำให้ละความเพียร ใน มรรค ผล นิพพาน
ดังนั้น นิมิตทั้ง 3 ให้กระทำสลับกันไปตามสภาวะ อย่าได้ทำนานเกินไป แค่อย่างเดียว ให้ทำสลับกันไปตามความเหมาะสม

เจริญธรรม / เจริญพร
4 กรกฎาคม  2566