แม่บท อุบายธาตุกรรมฐาน 8 ประการ

เริ่มโดย kai, ต.ค 17, 2023, 09:22 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

kai

ถาม ทำไมธาตุกรรมฐาน จึงมีการใช้สมาธิ
หรือ ใช้สมาธิเล็กน้อย หรือใช้สมาธิที่เป็นอัปปนาฌาน และอุปจาระฌาน


ตอบ เพราะว่าพระพุทธสอนไว้เพื่อข่มนิวรณ์คือความหลับความง่วงให้กับโมคคัลลานะ และมีการสอนทุกอิริยาบถจบด้วยการนอนสีหไสยาส ดังนั้นธาตุกรรมฐาน จึงมีหนักเบาต่างกันไปตามอิริยาบถ

แม่บท อุบายธาตุกรรมฐาน 8 ประการ
===============================


    {๕๘.๑}   จปลายสิ   โน  ตฺวํ  โมคฺคลฺลาน  จปลายสิ  โน  ตฺวํ
โมคฺคลฺลานาติ  ฯ  เอวํ  ภนฺเต  ฯ  ตสฺมาติห  โมคฺคลฺลาน  ยถาสญฺญิสฺส
เต  วิหรโต  ตํ  มิทฺธํ  โอกฺกมติ ตํ สญฺญํ มนสิกเรยฺยาสิ ๑- ตํ สญฺญํ พหุลํ
กเรยฺยาสิ ๒- ฐานํ โข ปเนตํ วิชฺชติ ยนฺเต เอวํ วิหรโต ตํ มิทฺธํ ปหีเยถ
    {๕๘.๒}   โน เจ เต เอวํ วิหรโต ตํ มิทฺธํ ปหีเยถ ตโต ตฺวํ โมคฺคลฺลาน
ยถาสุตํ   ยถาปริยตฺตํ   ธมฺมํ  เจตสา  อนุวิตกฺเกยฺยาสิ  อนุวิจาเรยฺยาสิ มา มนสากาสิ ฯ เอวมุปริปิ ฯ  ๒ ม. มา พหุลมกาสิ ฯ
มนสานุเปกฺเขยฺยาสิ   ฐานํ   โข  ปเนตํ  วิชฺชติ  ยนฺเต  เอวํ  วิหรโต
ตํ มิทฺธํ ปหีเยถ
     {๕๘.๓}   โน  เจ  เต  เอวํ  วิหรโต  ตํ มิทฺธํ ปหีเยถ ตโต ตฺวํ
โมคฺคลฺลาน    ยถาสุตํ    ยถาปริยตฺตํ    ธมฺมํ    วิตฺถาเรน   สชฺฌายํ
กเรยฺยาสิ ฐานํ โข ปเนตํ วิชฺชติ ยนฺเต เอวํ วิหรโต ตํ มิทฺธํ ปหีเยถ
     {๕๘.๔}   โน  เจ  เต  เอวํ  วิหรโต  ตํ มิทฺธํ ปหีเยถ ตโต ตฺวํ
โมคฺคลฺลาน   อุโภ   กณฺณโสตานิ   อาวิเชยฺยาสิ  ๑-  ปาณินา  คตฺตานิ
อนุมชฺเชยฺยาสิ ฐานํ โข ปเนตํ วิชฺชติ ยนฺเต เอวํ วิหรโต ตํ มิทฺธํ ปหีเยถ
     {๕๘.๕}   โน  เจ  เต  เอวํ  วิหรโต  ตํ มิทฺธํ ปหีเยถ ตโต ตฺวํ
โมคฺคลฺลาน    อุฏฺฐายาสนา    อุทเกน    อกฺขีนิ   อนุมชฺชิตฺวา   ทิสา
อนุวิโลเกยฺยาสิ    นกฺขตฺตานิ    ตารกรูปานิ    อุลฺโลเกยฺยาสิ    ฐานํ
โข ปเนตํ วิชฺชติ ยนฺเต เอวํ วิหรโต ตํ มิทฺธํ ปหีเยถ
     {๕๘.๖}   โน  เจ  เต  เอวํ  วิหรโต  ตํ มิทฺธํ ปหีเยถ ตโต ตฺวํ
โมคฺคลฺลาน    อาโลกสญฺญํ   มนสิกเรยฺยาสิ   ทิวาสญฺญํ   อธิฏฺฐเหยฺยาสิ
ยถา  ทิวา  ตถา  รตฺตึ  ยถา  รตฺตึ  ตถา ทิวา อิติ วิวเฏน ๒- เจตสา
อปริโยนทฺเธน   สปฺปภาสํ  จิตฺตํ  ภาเวยฺยาสิ  ฐานํ  โข  ปเนตํ  วิชฺชติ
ยนฺเต เอวํ วิหรโต ตํ มิทฺธํ ปหีเยถ
     {๕๘.๗}   โน  เจ  เต  เอวํ  วิหรโต  ตํ มิทฺธํ ปหีเยถ ตโต ตฺวํ
โมคฺคลฺลาน    ปจฺฉาปุเรสญฺญี    จงฺกมํ    อธิฏฺฐเหยฺยาสิ   อนฺโตคเตหิ
อินฺทฺริเยหิ  อพหิคเตน  มานเสน  ฐานํ  โข  ปเนตํ  วิชฺชติ  ยนฺเต เอวํ
วิหรโต ตํ มิทฺธํ ปหีเยถ
     {๕๘.๘}   โน เจ เต เอวํ วิหรโต ตํ มิทฺธํ ปหีเยถ ตโต ตฺวํ โมคฺคลฺลาน อาวิญฺเฉยฺยาสิ ฯทกฺขิเณน  ปสฺเสน  สีหเสยฺยํ  กปฺเปยฺยาสิ  ปาเทน   ปาทํ อจฺจาธาย สโต   สมฺปชาโน   อุฏฺฐานสญฺญํ   มนสิกริตฺวา   ปฏิพุทฺเธเนว  เต
โมคฺคลฺลาน   ขิปฺปญฺเญว   ปจฺจุฏฺฐาตพฺพํ   น  เสยฺยสุขํ  น  ปสฺสสุขํ  น
มิทฺธสุขํ อนุยุตฺโต วิหริสฺสามีติ เอวญฺหิ เต โมคฺคลฺลาน สิกฺขิตพฺพํ ฯ
==================================
ดูกรโมคคัลลานะ เพราะเหตุนั้นแหละ
1.เมื่อเธอมีสัญญาอย่างไรอยู่ความง่วงนั้นย่อมครอบงำได้ เธออย่าทำไว้ในใจซึ่งสัญญานั้นให้มาก ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความง่วงนั้นได้
( ธาตุกรรมฐาน  18 ประการ )
2.ถ้าเธอยังละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึงตรึกตรองพิจารณาถึงธรรมตามที่ตนได้สดับแล้ว ได้เรียนมาแล้วด้วยใจ ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความง่วงนั้นได้
( ธาตุกรรมฐาน วิปัสสนานัง )
3.ถ้ายังละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึงสาธยายธรรมตามที่ตนได้สดับมาแล้ว
ได้เรียนมาแล้วโดยพิสดาร ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความง่วงนั้นได้
( ธาตุกรรรมฐาน สัลลักขณัง )
4.ถ้ายังละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึงยอนช่องหูทั้งสองข้าง เอามือลูบตัว ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความง่วงนั้นได้
( ธาตุกรรมฐาน ยถาภูตญาณทัสสนัง)
5.ถ้ายังละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึงลุกขึ้นยืน เอาน้ำล้างตา เหลียวดูทิศทั้งหลาย แหงนดูดาวนักษัตรฤกษ์ ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความง่วงนั้นได้
( ธาตุกรรมฐาน ผลังสมาปัตติญานัง )
6.ถ้ายังละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึงทำในใจถึงอาโลกสัญญา ตั้งความสำคัญในกลางวันว่า กลางวันอย่างไร กลางคืนอย่างนั้น กลางคืนอย่างไร กลางวันอย่างนั้น มีใจเปิดเผยอยู่ฉะนี้ ไม่มีอะไรหุ้มห่อ ทำจิตอันมีแสงสว่างให้เกิด ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความง่วงนั้นได้
( ธาตุกรรมฐาน ปฎิจจสมุปันนานัง )
7.ถ้ายังละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึงอธิษฐานจงกรม กำหนดหมายเดินกลับไปกลับมา สำรวมอินทรีย์ มีใจไม่คิดไปในภายนอก ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความง่วงนั้นได้
( ธาตุกรรมฐาน ปริโยสานัง )
8.ถ้ายังละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึงสำเร็จสีหไสยา คือนอนตะแคงเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ ทำความหมายในอันจะลุกขึ้น พอตื่นแล้วพึงรีบลุกขึ้นด้วยตั้งใจว่า เราจักไม่ประกอบความสุขในการนอน ความสุขในการเอนข้าง ความสุขในการเคลิ้มหลับ ดูกรโมคคัลลานะ
( ธาตุกรรมฐาน สัจจะอธิษฐานัง )
เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล ฯ
แต่อย่างไร พระพุทธเจ้าก็สอนวิธีสลับไปในอิริยาบถ ผสมกันไป ให้เป็น นั่ง ยืน เดิน นอน ( แต่อย่างไรให้วน นั่ง ยืน เดินก่อนจนไม่ไหวจริง ๆ จึงจะเป็นข้อที่ 8 )

เราคิดว่าพระพุทธเจ้าสอนวิธีการที่ง่ายจัง กับ พระโมคคัลลานะ ถ้าสอนอย่างนี้ใครก็สอนได้ใช่ไหม เพราะว่าเนื้อหากรรมฐานไม่ได้ถูกบันทึกไว้ใน พระไตรปิฎก แต่มีการสอนในมูลกรรมฐาน

เจริญธรรม / เจริญพร
17 กรกฎาคม  2566